วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบหายใจ

กลไกในการนำเอาอากาศเข้าไปสู่ร่างกาย ทางผ่านของอากาศเข้าสู่ร่างกาย เริ่มต้นที่โพรงจมูก[nasal cavity] และช่องปาก [oral cavity]ซึ่งจะไปรวมกันบริเวณคอหอย[pharynx]เป็นท่อเดียวกัน จากนั้นจะผ่านลงสู่กล่องเสียง[larynx] หลอดลมใหญ่[trachea]อันมีทางแยกใหญ่ๆสองด้านไปด้านซ้ายและขวา [carina] แต่ละทางจะเล็กลงเรื่อยๆจนกระทั่งเป็นถุงลม [alveolar]ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วไปในปอดทั้งสองข้าง

[แก้ไข]
ระบบหายใจ

         มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้
         1.จมูก (Nose)
        จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสอง ข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูกอีกด้านหนึ่ง ของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรูจมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่น ละอองด้วย

         2. หลอดคอ (Pharynx)
         เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 " หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือ กระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง

         3. หลอดเสียง (Larynx)
         เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย
         4. หลอดลม (Trachea)
        เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วย กระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน

        การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์
         5. ปอด (Lung)
        ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม ระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน
         หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ

         6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
         เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด


ภาพ:ปอด.png
ภาพ:ช่องอก.png


[แก้ไข] กระบวนการในการหายใจ

         ในการหายใจนั้นมีโครงกระดูกส่วน อกและ กล้ามเนื้อบริเวณอกเป็นตัวช่วยขณะหายใจเข้า กล้าม เนื้อหลายมัดหดตัวทำให้ทรวงอกขยายออกไปข้างหน้า และยกขึ้นบน ในเวลาเดียวกันกะบังลมจะลดต่ำลง การกระทำทั้งสองอย่างนี้ทำให้โพรงของทรวงอกขยาย ใหญ่มากขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อหยุดทำงานและหย่อนตัวลง ทรวงอกยุบลงและความดันในช่องท้องจะดันกะบังลม กลับขึ้นมาอยู่ในลักษณะเดิม กระบวนการเข่นนี้ทำให้ ความดันในปอดเพิ่มขึ้น เมื่อความดันในปอดเพิ่มขึ้นสูง กว่าความดันของบรรยากาศ อากาศจะถูกดันออกจาก ปอด
        ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ปัจจัยประการแรกที่ทำให้ อากาศมีการเคลื่อนไหวเข้าออกจากปอดได้นั้น เกิด จากความดันที่แตกต่างกันนั่นเอง

[แก้ไข] การแลกเปลี่ยนก๊าซและการใช้ออกซิเจน

        เมื่อเราหายใจเข้า อากาศภายนอกเข้าสู่อวัยวะ ของระบบหายใจไปยังถุงลมในปอด ที่ผนังของถุงลมมีหลอดเลือดแดงฝอยติดอยู่ ดังนั้นอากาศจึงมีโอกาสใกล้ชิดกับเม็ดเลือดแดงมากออก ชิเจนก็จะผ่านผนังนี้เข้าสู่เม็ดเลือดแดง และคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะออกจากเม็ดเลือดผ่านผนังออกมาสู่ถุงลม ปกติในอากาศมีออกชิเจนร้อยละ 20 แต่อากาศที่เราหายใจมีออกซิเจนร้อยละ 13
ภาพ:หัวใจปอด.png

        จะเห็นว่าการหายใจเป็นกลไกที่ทำให้เราแลกเปลี่ยนอากาศกับสิ่งแวด ล้อมภายนอกร่างกายถ้าอากาศที่ได้รับ มีคุณภาพดี เราก็จะเผาผลาญอาหารได้ดี ทำให้เกิดของเสียในร่างกายได้น้อย แต่ในความเป็นจริงมลภาวะต่างๆ ปะปนอยู่ในอากาศมากมาย เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอากาศเหล่านี้ได้ในเร็ววัน หากต้องการอากาศบริสุทธิ์ ก็คงต้องย้ายไปอยู่ในป่าหรือตามชนบทที่ห่างไกลจากมลภาวะ แต่สิ่งที่เราปรับปรุงได้ก็คือการเลือกใช้เชื้อเพลิง หรืออาหารที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ร่างกายเราสัมผัสกับของเสียที่เราผลิตออกมาน้อยที่สุด และมีชีวิตอยู่ได้อย่างยืนยาว

พืช

ลำต้น   เป็น ส่วนของพืชที่อยู่ต่อจากรากขึ้นมา พืชส่วนมากจะมีลำต้นอยู่บนดิน แต่พืชบางชนิดมีลำต้นอยู่ใต้ดิน  ลำต้นประกอบด้วยข้อ  ปล้อง และตา  ลำต้นมีหน้าทีชูก้าน  ใบ  และดอกให้ได้รับแสงแดด  เป็นทางลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ  และลำต้นบางชนิดสะสมน้ำและอาหาร
การสืบพันธุ์ของพืชมีดอก พืชมีดอกมีวิธีแพร่พันธุ์แตกต่างกัน  พืชดอกจะอาศัยดอกในการสืบพันธุ์  เรียกว่า การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  และกาสรสืบพันธุ์แบบโดยวิธีอื่นที่ไม่ต้องใช้ดอก เรียกว่า การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
ารสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  
การถ่ายละอองเกสร
                     การถ่ายละอองเกสร  คือ  วิธีการที่ละอองเกสรตัวผู้เคลื่อนที่ไป   ตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย  เพื่อให้เกิดการผสมพันธ์ในโอกาสต่อไป  การถ่ายละออง   เกสรมี 3 แบบ คือ
                    1.  การถ่ยละอองเกสรในดอกเดียงกัน  พืชที่มีดอกเป็นดอกสมบูรณ์
   เพศ คือ มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันละอองเกสรตัวผู้สามารถรร่วงหรือ  ปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียได้พืชที่ถ่ายละอองเกสรในดอกเดียวกัน  ได้แก่   ถั่ว   มะเขือ ฝ้ายและพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศอื่น ๆ
                    2. การถ่ายละอองเกสรข้ามดอกในต้นเดียวกัน  เกิดกับพืชที่มีดอก   ไม่สมบูรณ์
อะอองเกสรตัวผู้จะต้องเคลื่อนที่ไปตกบนยอดเกสรตัวเมียของดอกหนึ่ง   ในต้นเดียวกัน  พืชที่ต้องถ่ายละอองเกสรแบบนี้  ได้แก่  ฟักทอง  แตงกวา และพืช   ที่มีดอกไม่สมบูรณ์เพศอื่น ๆ
                   3.  การถ่ายละอองเกสรข้างต้น  เกิดกับพืชที่มีดอกตัวผู้หรือดอกตัวเมีย   อยู่คนละต้น  จึงต้องใช้ในการถ่ายละอองเกสรข้ามต้นพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศ     หรือพืชที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ก็อาจจะถ่ายละอองเกสร   ข้ามต้นได้  โดย อาศัยลมหรือสัตว์พาไป


 
 

 

 
 


ระบบย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหาร
           ระบบย่อยอาหารประกอบด้วย ปาก ลิ้น ฟัน หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ อวัยวะต่างๆ มีหน้าที่ ดังนี้

        1.1 ปาก เป็นอวัยวะส่วนแรงของระบบย่อยอาหาร ภายในประกอบด้วย ลิ้น ฟัน และต่อมน้ำลาย เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ริมฝีปากและลิ้นจะทำหน้าที่ส่งอาหารให้ฟันบดเคี้ยว และลิ้นยังทำหน้าที่รับรสชาติอาหาร และคลุกเคล้าอาหารกับน้ำลายเพื่อให้อาหารอ่อนนุ่ม กลืนสะดวก นอกจากนี้ในน้ำลายยังมีน้ำย่อยช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาลด้วย
    1.2 หลอดอาหาร เป็นท่อกลวงขนาดสั้น มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนปลายของหลอดอาหารเป็นกล้าเนื้อหูรูด ซึ่งสามารถบีบตัวให้หลอดอาหารปิด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อยกลับสู่หลอดอาหารอีก หลอดอาหารไม่มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่ทำหน้าที่เป็นทางลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหารเท่านั้น
          1.3 ตับและตับอ่อน เป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดีและส่งไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี เพื่อช่วยในการย่อยไขมัน

         1.4 กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่อยู่ต่อจากหลอดอาหาร ตั้งบริเวณใต้ทรวงอกของคนเรา ส่วนบนของกระเพาะอาหารจะเชื่อมต่อกับหลอดอาหาร และส่วนปลายเชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในลำไส้เล็กย้อยกลับสู่กระเพาะอาหารได้ อีกกล้ามเนื้อขนาดใหญ่
กระเพาะอาหารทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยออกมา เพื่อย่อยอาหารพวกโปรตีนเท่านั้น โดยกระเพาะอาหารจะบีบรัดตัวให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำย่อย

      
         1.5 ลำไส้เล็ก เป็นทางเดินอาหารที่สำคัญที่สุดและมีความยาวที่สุด ลำไส้เล็กจะทำหน้าที่ย่อยอาหารทุกประเภท และการย่อยแล้วจะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือด
         1.6 ลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่ต่อจากลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นท่อกลวงขนาดใหญ่ ส่วนปลายเป็นกล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า ทวารหนัก ลำไส้ใหญ่ไม่ได้ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่จะทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและเกลือแร่บางส่วนที่เหลืออยู่ในกากอาหาร ทำให้กากอาหารเป็นก้อนอุจจาระ นอกจากนี้ลำไส้ใหญ่ยังขับเมือกออกมาหล่อลื่น ทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวได้
           เมื่อเรากินอาหารเข้าไป ฟันของเราจะบดเคี้ยวอาหารให้เล็กลง และอาหารจะเคลื่อนผ่านหลอดอาหารไปยังกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะย่อยอาหารให้เล็กลง และส่งผ่านไปยังลำไส้เล็ก อาหารต่างๆ ถูกย่อยที่ลำไส้เล็กเป็นจุดสุดท้าย และถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือด เพื่อไปเลี้ยงร่างกายส่วนกากอาหารที่เหลือจะถูกขับอออกมาทางทวารหนัก